สนธิสัญญาปารีส

สนธิสัญญาปารีส อาจหมายถึง ความตกลงหลายฉบับที่เจรจาและลงนามกันในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสเป็นต้นว่า

ความตกลงปารีส (อังกฤษ: Paris Agreement) เป็นความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ยูเอ็นเอฟซีซีซี) เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 ความตกลงดังกล่าวเจรจากันในช่วงการประชุมภาคีสมาชิกของยูเอ็นเอฟซีซีซีครั้งที่ 21ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้รับความเห็นชอบในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558[1] โลร็อง ฟาบีอุส ประธานที่ประชุมและรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศของฝรั่งเศส กล่าวว่าแผนการอัน "ทะเยอทะยานและสมดุล" นี้คือ "จุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์" ในความพยายามลดภาวะโลกร้อน[2]
ความตกลงปารีส
วันลงนาม
- ณ
22 เมษายน พ.ศ. 2559
นิวยอร์ก
วันประทับตรา12 ธันวาคม พ.ศ. 2558
วันใช้บังคับ
- เงื่อนไข
ยังไม่มีผลใช้บังคับ
ภาคีสมาชิกยูเอ็นเอฟซีซีซี 55 ประเทศให้สัตยาบัน/ภาคยานุวัติ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 55 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก
ผู้ลงนามยังไม่ได้ลงนาม
ผู้เก็บรักษาเลขาธิการสหประชาชาติ
ภาษาอื่นอาหรับ จีน อังกฤษ ฝรั่งเศสรัสเซีย และสเปน
Wikisource-logo.svgวิกิซอร์ซมีต้นฉบับ:
:en:Paris Agreement

เป้าหมายแก้ไข

เป้าหมายของอนุสัญญามีระบุไว้ในข้อ 2 ว่า เพื่อ "ส่งเสริมการบังคับใช้" ยูเอ็นเอฟซีซี ด้วยการ

เบื้องหลังแก้ไข

ตามที่ระบุไว้ในกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น อาจมีการตกลงรับตราสารทางกฎหมายหลายฉบับเพื่อให้เป้าหมายของอนุสัญญาบรรลุผลก็ได้ ฉะนั้น จึงมีการตกลงเกี่ยวกับมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกตามความในพิธีสารเกียวโตใน พ.ศ. 2540 เพื่อดำเนินงานในช่วง พ.ศ. 2540 ถึง 2551 ต่อมา มีการตรา "ข้อแก้ไขเพิ่มเติมโดฮา" (Doha Amendment) เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพิธีสารดังกล่าวให้ขยายการดำเนินงานออกไปจนถึง พ.ศ. 2563[4]
ในระหว่างการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2554 มีการกำหนด "แผนงานเดอร์บัน" (Durban platform) พร้อม "คณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยแผนงานเดอร์บันสำหรับการดำเนินงานเพิ่มเติม" (Ad Hoc Working Group on the Durban Platform for Enhanced Action) เพื่อมุ่งเจรจาเกี่ยวกับตราสารทางกฎหมายฉบับหนึ่งว่าด้วยมาตรการบรรเทาความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนับแต่ พ.ศ. 2563 ฉะนั้น ใน พ.ศ. 2558 จึงมีการตกลงรับตราสารดังกล่าว[5]

ความคิดเห็น